ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (สายกรุงเทพมหานคร?บ้านฉาง) เป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายแรกของประเทศไทย มีระยะทางยาว 125.865 กิโลเมตร ทางสายนี้เป็นโครงข่ายทางหลวงที่มีความสำคัญในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งกับพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดคับคั่งในถนนสุขุมวิท และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 สายบางนา-หนองไม้แดง และเป็นทางเชื่อมเข้าสู่ท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถนนสายนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 19 และทางหลวงเอเชียสาย 123

ปัจจุบันทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มีเส้นทางตั้งแต่กรุงเทพมหานครไปถึงแค่เพียงเมืองพัทยาเท่านั้น ซึ่งยังไม่มีเส้นทางไปยังอำเภอบ้านฉาง เพียงแต่เป็นโครงการในอนาคต นอกจากนี้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในปัจจุบัน ยังถูกกำหนดในเส้นทางอื่นอีก ได้แก่ ทางแยกไปบรรจบทางหลวงหมายเลข 34 (บางวัว), ทางแยกเข้าชลบุรี, ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง และทางแยกเข้าพัทยา รวมถึงทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (บ้านอำเภอ) ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างในอนาคต

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในช่วงแรกมีชื่อเรียกว่า ถนนกรุงเทพ–ชลบุรี หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ถนนกรุงเทพ–ชลบุรีสายใหม่ เป็นถนนขนาด 8 ช่องจราจร เริ่มต้นที่ปลายทางพิเศษศรีรัช ส่วน D และถนนพระราม 9 บริเวณจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ ที่ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร มีแนวทางตัดไปทางทิศตะวันออก ผ่านเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตสะพานสูงกับเขตประเวศ ผ่านเขตลาดกระบัง จากนั้นเข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ ผ่านอำเภอบางเสาธง และอำเภอบางบ่อ แล้วผ่านอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ข้ามแม่น้ำบางปะกง จากนั้นเข้าสู่จังหวัดชลบุรี ผ่านอำเภอพานทอง เข้าสู่อำเภอเมืองชลบุรี และสิ้นสุดช่วงแรกที่ทางแยกต่างระดับคีรีนคร โดยมีเส้นทางตัดแยกออกไปยังเขตเทศบาลเมืองชลบุรี

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ในช่วงที่สอง ซึ่งเรียกถนนในช่วงนี้ว่า ถนนชลบุรี–พัทยา เข้าสู่อำเภอศรีราชา มีเส้นทางตัดแยกไปยังเทศบาลนครแหลมฉบัง ที่ทางแยกต่างระดับหนองขาม โดยตั้งแต่กรุงเทพมหานครถึงบริเวณนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 19 จากนั้นถนนมีช่องจราจรลดลงเหลือ 6 ช่อง และเข้าสู่อำเภอบางละมุง ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 ที่ทางแยกต่างระดับพัทยา (โป่ง) โดยตั้งแต่กรุงเทพมหานครถึงบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของ ทางหลวงเอเชียสาย 123 และสิ้นสุดที่ถนนสุขุมวิท ในเมืองพัทยา

นอกจากสายหลัก ยังมีสายแยกที่เชื่อมต่อทางหลวงพิเศษสายหลักกับเมืองหรือเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมถึงทางหลวงแผ่นดินที่มีแนวเส้นทางขนานกับทางหลวงพิเศษสายหลัก เช่น ถนนสุขุมวิท สายแยกดังกล่าวนี้ มีเส้นทางมุ่งสู่ชายทะเล และออกแบบเป็นทางหลวงพิเศษที่มีการควบคุมการเข้า-ออก ได้แก่

นอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างทางบริการชุมชน มีลักษณะเป็นถนนคู่ขนานทั้งสองข้างของทางหลวงพิเศษในบางช่วง อยู่นอกเขตและไม่เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษ สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกับถนนอื่นที่ถูกตัดขาดออกจากกัน โดยได้รับการกำหนดเป็นทางหลวงแผ่นดิน ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701 และ 3702 ซึ่งเป็นทางบริการด้านซ้ายและด้านขวาของทางหลวงพิเศษตามลำดับ

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ออกแบบและก่อสร้างเป็นทางหลวงพิเศษไม่มีทางเชื่อมควบคุมการเข้า-ออก เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2537 ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดการจราจรตลอดสายเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ก่อสร้างเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ต่อมา ได้มีการรวมแนวเส้นทางเก่าของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 มาเป็นส่วนหนึ่งในช่วงชลบุรี–พัทยา และก่อสร้างเพิ่มเติมจากเดิมสิ้นสุดบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 เป็นสิ้นสุดที่ถนนสุขุมวิท บริเวณพัทยากลาง เปิดการจราจรเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2553 ซึ่งเป็นการเปิดการจราจรตลอดสาย

ต่อมา กรมทางหลวงได้ขยายช่องจราจรหลักเพิ่มเติมบนถนนกรุงเทพฯ–ชลบุรี ช่วงถนนศรีนครินทร์–ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็น 8 ช่องจราจร ขยายเข้าหาศูนย์กลางบริเวณร่องน้ำ โครงการนี้มีแนวทางไปทางทิศตะวันออกมุ่งสู่ชลบุรี ลอดผ่านสะพานเข้า-ออกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และทางเข้า-ออกสถานีขนส่งสินค้าร่มเกล้าผ่านข้ามทางรถไฟของสถานีขนส่งสินค้า ซึ่งปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว

กรมทางหลวงได้มีการปรับปรุงทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงชลบุรี–พัทยาให้เป็นทางหลวงพิเศษควบคุมการเข้าออกเต็มรูปแบบ ในช่วงสะพานข้ามทางรถไฟ–ทางแยกต่างระดับบางพระ หรือแยกวังตะโก มีเขตทาง 80 เมตร มีขนาด 4-8 ช่องจราจร ระยะทาง 4 กิโลเมตร จะมีการปรับปรุงเป็นทางรวมและกระจายการจราจร ปิดช่องกลับรถกลางถนน แล้วก่อสร้างจุดกลับรถในรูปแบบของทางลอด หรือสะพานกลับรถเกือกม้า มีจุดกลับรถ 1 จุด คือบริเวณสะพานข้ามทางรถไฟ

นอกจากนี้ ยังมีปรับปรุงทางแยกต่างระดับคีรีนคร จากเดิมทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ช่วงกรุงเทพฯ–ชลบุรีจะมาสิ้นสุดที่แยกนี้ จะเปลี่ยนแนวทางของสะพาน ให้สายทางแยกเข้าชลบุรีมาสิ้นสุดที่แยกนี้ และให้ถนนกรุงเทพฯ–ชลบุรีมีเส้นทางตรงลงพัทยาได้โดยไม่ต้องเลี้ยวซ้าย ซึ่งปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว รวมทั้งก่อสร้างด่านเก็บค่าผ่านทาง 1 จุด ได้แก่ ด่านบางพระ บริเวณทางแยกต่างระดับบางพระ

ช่วงทางแยกต่างระดับบางพระหรือแยกวังตะโก ถึงทางแยกต่างระดับหนองขาม มีเขตทาง 80 เมตร มีขนาด 8 ช่องจราจร และทางบริการ 2 ช่องจราจร ในบางส่วน ระยะทาง 21 กิโลเมตร และช่วงทางแยกต่างระดับหนองขาม–ทางแยกต่างระดับพัทยา (โป่ง) มีเขตทาง 80 เมตร มีขนาด 6 ช่องจราจร และทางบริการ 2 ช่องจราจร ในบางส่วน ระยะทาง 17 กิโลเมตร จะมีการปรับปรุงให้เป็นทางหลวงพิเศษที่ควบคุมการเข้า-ออก ก่อสร้างด่านเก็บค่าผ่านทาง 2 จุด ได้แก่ ด่านหนองขาม และด่านพัทยา ในช่วงที่ 1 จะมีจุดกลับรถ 5 จุด และในช่วงที่ 2 จะมีจุดกลับรถ 9 จุด เป็นแบบทางลอดทั้งหมด มีรั้วกั้นระหว่างทางหลักกับทางบริการ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ป้ายจราจร ไฟฟ้าส่องสว่าง มีสถานที่บริการทางหลวง 1 จุด บริเวณเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี กิโลเมตรที่ 98-99 และปรับปรุงทางแยกต่างระดับหนองขามให้มีทางเลี้ยวเพิ่มเติม

ในช่วงทางแยกต่างระดับหนองขาม–ทางแยกต่างระดับแหลมฉบัง มีเขตทาง 80 เมตร มีขนาด 4 ช่องจราจร และทางบริการ 2 ช่องจราจร ระยะทาง 8 กิโลเมตร โดยจะปรับปรุงให้เป็นทางรวมและกระจายการจราจรในลักษณะกึ่งควบคุม เพื่อแยกรถบรรทุกสินค้า และรถในท้องถิ่นออกจากกัน รวมทั้งจะกำหนดจุดเข้า-ออกทางสายหลักในตำแหน่งที่เหมาะสมอีกด้วย

ช่วงจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณจุดบรรจบทางหลวงหมายเลข 3–ทางแยกต่างระดับพัทยา มีเขตทาง 70-170 เมตร มีขนาด 6 ช่องจราจร และทางบริการ 2 ช่องจราจร เฉพาะเชื่อมเดินทางท้องถิ่น ระยะทาง 8 กิโลเมตร มีจุดกลับรถ 1 จุด จะมีการก่อสร้างสะพานข้าม และทางลอดทางหลวงในบริเวณจุดตัดถนนเดิมสำหรับการสัญจรในท้องถิ่น เพื่อเน้นการให้บริการประชาชนในท้องถิ่น และก่อสร้างด่านเก็บค่าผ่านทาง 1 จุด ได้แก่ ด่านพัทยาเหนือ บริเวณถัดจากทางแยกต่างระดับมาบประชันที่จะมีแผนก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายพัทยา–มาบตาพุดอีกด้วย

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 มีโครงการในช่วงพัทยา–มาบตาพุด โดยจะเริ่มต้นจากถนนชลบุรี–พัทยา บริเวณกิโลเมตรที่ 124 เป็นแนวตรงจากทางแยกต่างระดับพัทยาไปยังนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และเทศบาลเมืองมาบตาพุด โดยมีเขตทาง 70 เมตร มีขนาด 4 ช่องจราจร ในช่วงที่มีการสร้างทางบริการจะมีเขตทาง 110 เมตร มีขนาด 4 ช่องจราจร และทางบริการ 2 ช่องจราจร ระยะทาง 32 กิโลเมตร และถนนรวมและกระจายการจราจร สายห้วยใหญ่–บ้านอำเภอจะมีเขตทาง 50 เมตร มีขนาด 4 ช่องจราจร ระยะทาง 7.856 กิโลเมตร

ทางแยกต่างระดับของโครงการมีทั้งหมด 4 จุด ได้แก่ ทางแยกต่างระดับมาบประชัน บริเวณจุดเริ่มต้น ทางแยกต่างระดับห้วยใหญ่ บริเวณแยกของถนนสายห้วยใหญ่–บ้านอำเภอ ทางแยกต่างระดับเขาชีโอน บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 และทางแยกต่างระดับอู่ตะเภา บริเวณจุดสิ้นสุด มีสถานที่บริการทางหลวง 1 จุด บริเวณตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ตลอดเส้นทางมีด่านเก็บค่าผ่านทาง 4 จุด ได้แก่ ด่านมาบประชัน ด่านห้วยใหญ่ ด่านบ้านเขาชีโอน และด่านมาบตาพุด ตั้งอยู่บริเวณทางแยกต่างระดับทุกจุดของโครงการ มีด่านชั่งน้ำหนักสำหรับรถบรรทุก 3 จุด สำหรับการเชื่อมต่อชุมชนสองข้างทางจะออกแบบเป็นทางลอด ทางข้าม และสะพานข้ามถนนท้องถิ่นเช่นเดียวกับช่วงกรุงเทพฯ–ชลบุรี และชลบุรี–พัทยา


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301